คนไทยฮือฮา! แสงวูบวาบคล้ายดาวตก โผล่เหนือท้องฟ้า

คนไทยฮือฮา! แสงวูบวาบคล้ายดาวตก โผล่เหนือท้องฟ้า

คนไทยฮือฮา! แสงวูบวาบคล้ายดาวตก โผล่เหนือท้องฟ้า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงค่ำที่ผ่านมา (2 มี.ค.) ในโซเชียลเน็ตเวิร์กและโลกออนไลน์ต่างวิพากษ์วิจารณ์ปรากฏการณ์ประหลาดที่มีเพียงไม่กี่คนพบเห็น ภาพแสงวูบวาบเป็นทางยาว คล้ายกับดาวตก โผล่เหนือท้องฟ้าเมืองไทย ซึ่งเป็นภาพที่ปรากฏให้เห็นเพียง 3-4 วินาที เท่านั้น

ตามรายงานระบุว่า เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ เกิดกระแสคำถามเกี่ยวกับปรากฏการณ์บนท้องฟ้าในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล หลังจากมีผู้พบเห็นแสงวูบวาบ เป็นแสงสว่างสีส้ม คล้ายดาวตก ส่องแสงอยู่ประมาณ 3-4 วินาที ซึ่งเหตุการณ์นี้มีผู้สงสัยเข้าไปตั้งกระทู้ถามบนเว็บไซต์พันทิปว่า "เมื่อประมาณ 30 นาทีที่แล้ว คน กทม. เห็นวัตถุประหลาดตกลงมาจากท้องฟ้าไหมคะ?"

ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ดังกล่าวมีผู้พบเห็นจำนวนหนึ่ง ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ปริมณฑล เช่น จ.ปทุมธานี จ.สมุทรสาคร จ.ชลบุรี หรือบางส่วนของกรุงเทพฯ โดยทุกคนต่างอธิบายตรงกันว่า แสงวูบวาบมีลักษณะเป็นสีส้มสว่าง ปรากฏให้เห็นเพียงไม่กี่วินาที หรือแค่เพียงกะพริบตาเดียว บางคนเห็นก็หยุดยืนนิ่ง เพราะประหลาดใจกับภาพที่ไม่เคยเห็นมาก่อน

อย่างไรก็ตาม หลังจากกระแสนี้เริ่มเป็นที่ฮือฮา มีคนเห็นและไม่เห็น รวมทั้งเชื่อและไม่เชื่อ พร้อมขอภาพหลักฐานมายืนยัน ซึ่งพยานส่วนใหญ่ยืนยันว่า เหตุการณ์ที่เกิดเหตุแค่จะล้วงหยิบโทรศัพท์มาถ่ายไว้ก็ไม่ทันแล้ว

กระทั่งมีผู้ใช้เว็บไซต์ยูทูป ชื่อว่า K Jane ได้โพสต์คลิปวิดีโอ "ตกลงมาจากฟ้า" ภาพจากกล้องหน้ารถยนต์ ระหว่างที่กำลังขับรถกลับบ้าน สังเกตบนท้องฟ้าเพียงแค่ 3 วินาที แสงวูบวาบจะปรากฎขึ้นเพียงแค่ไม่กี่วินาที มีลักษณะเหมือนผีพุ่งใต้ ทำให้ผู้คนเริ่มเชื่อเกี่ยวกับปรากฏการณ์ดังกล่าว

นอกจากนี้ เพจเฟซบุ๊ก สมาคมดาราศาสตร์ไทย ได้โพสต์ชี้แจงว่า...

"เมื่อช่วงหัวค่ำ ผู้สังเกตในกรุงเทพฯ มีโอกาสเห็นการสว่างวาบของดาวเทียมอิริเดียม ซึ่งเกิดจากสายอากาศทำมุมสะท้อนกับแสงอาทิตย์ ดาวเทียมอิริเดียมมีหลายดวง ครั้งนี้เกิดจากดาวเทียมอิริเดียม 30 สว่างที่สุดในเวลาประมาณ 19:53 น. บนท้องฟ้าทิศใต้ มุมเงย 36° (ปรากฏการณ์นี้เห็นได้เฉพาะที่ การสังเกตในสถานที่อื่นนอกจากกรุงเทพฯ)"

ซึ่งคำชี้แจงดังกล่าว มีทั้งคนเชื่อและไม่เชื่อ เนื่องจากหลายคนมองว่า ลักษณะของแสงวูบวาบที่เกิดขึ้น คล้ายกับดาวตกมากกว่าจะเป็นแสงสะท้อนของดาวเทียม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook