วิธีตรวจสอบมือถือ หรือสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ก่อนซื้อ

วิธีตรวจสอบมือถือ หรือสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ก่อนซื้อ

วิธีตรวจสอบมือถือ หรือสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ก่อนซื้อ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วิธีตรวจสอบมือถือ หรือสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ก่อนซื้อ ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ เรื่องง่ายๆ ที่ผู้ซื้อทุกคนควรรู้

เผลอหน่อยเดียว เวลาก็ล่วงเลยมาถึงเดือนสุดท้ายของปี 2014 กันแล้ว ซึ่งก็มีผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยที่ตั้งใจจะเลือกซื้อมือถือ, สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ในช่วงปลายปีแบบนี้ เนื่องจากมักเป็นช่วงที่บรรดาผู้ผลิตแบรนด์ต่างๆ มักจะแข่งขันกันเพื่อนำเสนอโปรโมชั่นดีๆ ราคาโดนๆ มากเป็นพิเศษ เพื่อกระตุ้นยอดขายส่งท้ายปี

แต่อย่างไรก็ดี นอกจากการตรวจสอบคุณสมบัติ และราคาจำหน่าย ให้ตรงกับความต้องการของเราแล้ว สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่เราควรทำก่อนที่จะจ่ายเงินก้อนใหญ่ให้กับร้านค้าก็ คือ การตรวจสอบความเรียบร้อยของตัวสินค้าอย่างถี่ถ้วน ตั้งแต่ภายนอกกล่อง ไปจนถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ภายใน เพื่อให้สมาร์ทโฟน และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เราตั้งใจซื้อมาใช้งาน มีสภาพที่สมบูรณ์เต็ม 100% นั่นเอง

ซึ่งขั้นตอนการตรวจสอบต่างๆ นั้นก็ไม่ยาก ทุกท่านสามารถทำตามได้อย่างแน่นอน ลองไปติดตามกันได้เลยครับ

ขั้นตอนที่ 1 : ตรวจสอบสภาพกล่อง

เมื่อ เราตัดสินใจเลือกซื้อสมาร์ทโฟนรุ่นดังกล่าวแล้ว ก็มาเริ่มที่การเช็คสภาพกล่องกันก่อน โดยสภาพกล่องจะต้องไม่มีร่องรอยการแกะ หรือบุบเสียหายก่อนจะถึงมือเรา

ขั้นตอนที่ 2 : ตรวจสอบสภาพตัวเครื่อง

มาต่อกันที่ตัวเครื่อง เมื่อทำการแกะกล่องเรียบร้อยแล้วเราก็มาตรวจสอบสภาพตัวเครื่องว่ามีร่องรอย ในการตกหล่น, รอยขีดข่วน หรือรอยถลอกของตัวเครื่องบ้างหรือไม่ โดยผู้ใช้งานควรจะตรวจสอบทั้งตัวเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นหน้าจอ, ขอบตัวเครื่องทั้งด้านบน-ล่าง และซ้าย-ขวา ถ้าสมาร์ทโฟนรุ่นดังกล่าวนั้นสามารถถอดฝาหลังได้ ก็ควรจะแกะฝาหลัง และตรวจสอบด้านใน พร้อมตรวจสอบแบตเตอรี่ด้วยเช่นกัน

ขั้นตอนที่ 3 : ตรวจสอบอุปกรณ์เพิ่มเติมต่างๆ ภายในกล่อง

สำหรับอุปกรณ์เพิ่มเติมต่างๆ ภายในกล่องนั้น สมาร์ทโฟนแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อจะมีความแตกต่างกันออกไป บ้าง แต่โดยพื้นฐานทั่วไปแล้วจะประกอบไปด้วย สายหูฟังแบบสเตอริโอ, อะแดปเตอร์สำหรับการชาร์จแบตเตอรี่, สาย microUSB สำหรับเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์, คู่มือการใช้งาน และใบรับประกัน ซึ่งส่วนนี้จะสำคัญมากเป็นพิเศษ ดังนั้นผู้ใช้งานควรจะตรวจสอบเงื่อนไขการรับประกันอย่างละเอียด

ขั้นตอนที่ 4 : ตรวจสอบคลื่นความถี่ 3G หรือ 4G

ก่อนผู้ใช้งานจะเลือกซื้อสมาร์ทโฟนรุ่นดังกล่าว ก็คงจะตรวจสอบว่าสมาร์ทโฟนนั้นรองรับคลื่นความถี่ที่เราใช้ได้หรือไม่ ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดการผิดพลาดเราก็ต้องมาตรวจสอบกันให้ดี ซึ่งปัจจุบันสมาร์ทโฟนส่วนใหญ่จะรองรับการใช้งาน 3G แต่สมาร์ทโฟนบางรุ่นจะรองรับคลื่นความถี่แตกต่างกัน โดยความถี่ 3G ของแต่ละเครือข่ายในประเทศไทยจะเป็นดังนี้คือ เครือข่าย AIS ใช้คลื่นความถี่ 900/2100 MHz, เครือข่าย dtac ใช้คลื่นความถี่ 850/2100 MHz และเครือข่าย TrueMove H ใช้คลื่นความถี่ 850/2100 MHz

เมื่อตรวจสอบความถี่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ลองนำซิมการ์ดใส่เข้าไปที่ตัวเครื่อง และเปิดสัญญาณโทรศัพท์ พร้อมกับเปิดโหมดเชื่อมต่อข้อมูล และทดสอบการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านเว็บเบราว์เซอร์ รวมไปถึงทดสอบการโทรเข้า และโทรออก ด้วยเช่นกัน

ขั้นตอนที่่ 5 : ตรวจสอบหมายเลข IMEI

ในการตรวจสอบรหัส IMEI นั้นมีหลายวิธี โดยเบื้องต้นแล้วเราสามารถตรวจสอบได้จากข้างกล่อง และนำมาเปรียบเทียบกับเลข IMEI บนเครื่อง โดยสมาร์ทโฟนส่วนใหญ่เลข IMEI จะอยู่ด้านในใต้แบตเตอรี่ ซึ่งเราสามารถแกะฝาหลัง และนำแบตเตอรี่ออกได้ สำหรับสมาร์ทโฟนที่ไม่สามารถแกะฝาหลังได้นั้น เลข IMEI จะถูกติดไว้ที่หลังของตัวเครื่อง รวมไปถึงการใส่รหัสพิเศษเพื่อตรวจเช็คเลข IMEI ก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยเข้าไปที่โหมดการโทร และกดรหัส *#06# แค่นี้เลข IMEI ก็จะแสดงขึ้นมาให้เราเห็น

ขั้นตอนที่ 6 : ตรวจสอบขั้วแบตเตอรี่


โดยปกติแล้วสมาร์ทโฟนเครื่องใหม่ที่ออกจากกล่อง บริเวณขั้วแบตเตอรี่สีทอง นั้นไม่ควรมีรอยขีดข่วน หรือมีสีอื่นๆ ปะปนนอกจากสีทอง รวมไปถึงรอยไหม้ หรือจุดดำบริเวณขั้วแบตเตอรี่ ทั้งในส่วนของตัวเครื่อง และส่วนของก้อนแบตเตอรี่

วิธีที่ 7 : ตรวจสอบอาการผิดปกติของเม็ดสีบนหน้าจอแสดงผล

การตรวจสอบนั้นจะมี 2 แบบ อย่างแรกคือ การตรวจสอบ Stuck Pixel โดยการตรวจสอบนี้หน้าจอแสดงผลต้องเป็นภาพที่ดำสนิท เมื่อลองตรวจสอบแล้วจะเห็นเม็ดสีที่แตกต่างไปจากสีดำ ซึ่งเม็ดสีที่เห็นนั้นจะมีทั้งสีน้ำเงิน, สีขาว และสีแดง อย่างที่สองคือการตรวจสอบ Dead Pixel โดยการตรวจสอบนี้ภาพหน้าจอต้องเป็นสีขาวสว่างพอสมควร เมื่อลองตรวจสอบแล้วจะเห็นเม็ดสีที่เป็นสีดำ และถ้าเปลี่ยนภาพที่เป็นสีอื่นๆ ที่ไม่ใช้สีดำแล้ว เม็ดสีนั้นก็ยังคงเป็นสีดำอยู่เหมือนเดิน พร้อมทั้งผู้ใช้งานยังสามารถตรวจสอบความผิดปกติของเม็ดสีด้วยแอปพลิเคชัน Pixel Test หรือเข้าโหมด Test Menu เพื่อทำการตรวจสอบได้เช่นกัน

ขั้นตอนที่ 8 : เข้าเมนูตรวจสอบ (Service Test) ด้วยรหัสลับของสมาร์ทโฟนแต่ละแบรนด์

 

หากท่านใดยังไม่ทราบ เราสามารถทดสอบการใช้งานฟังก์ชันพื้นฐานต่างๆ ของตัวเครื่องได้ทั้งหมดภายในที่เดียว โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาไปดาวน์โหลดแอปพลิเคชันใดๆ เพิ่มเติม วิธีการก็คือให้ เราเข้าไปที่โหมดโทรออก แล้วพิมพ์รหัสลับสำหรับตรวจสอบสมาร์ทโฟนเข้าไป ซึ่งรหัสสำหรับสมาร์ทโฟนแต่ละแบรนด์จะแตกต่างกันออกไปดังนี้

สมาร์ทโฟนซัมซุง (Samsung) ใส่รหัส *#0*#
                    
สมาร์ทโฟนโซนี่ (Sony) ใส่รหัส *#*#7378423#*#*
                    
สมาร์ทโฟนเอชทีซี (HTC) ใส่รหัส *#*#3424#*#*
                    
สมาร์ทโฟนแอลจี (LG) ใส่รหัส 3845#*รหัสรุ่น# หรือ กด 1809#*รหัสรุ่น#
                    
สมาร์ทโฟนออปโป้ (OPPO) ใส่รหัส *#808#

สมาร์ทโฟนเลอโนโว (Lenovo)  ใส่รหัส  ####1111#

สมาร์ทโฟนเอชทีซี (HTC) ใส่รหัส *#*#3424#*#* หรือ *#*#4636#*#*

สมาร์ทโฟนหัวเว่ย (Huawei) ใส่รหัส ##497613

สมาร์ทโฟนไอโมบาย (i-mobile) ให้กดปุ่มปิดเครื่องก่อน เมื่อหน้าจอดับแล้วให้ กดปุ่มลดเสียง (Volume Down) และปุ่ม Power ค้างไว้พร้อมกัน

ซึ่งรหัสของสมาร์ทโฟนแต่ละแบรนด์ข้างต้น จะเป็นรหัสเพื่อเข้าโหมดทดสอบ หรือ Service Test และมีเมนูย่อยเพื่อทดสอบการใช้งานขั้นพื้นฐานต่างๆ ไม่ว่าจะ เป็นการทดสอบ Dead Pixel, การรับสัญญาณ, ระบบสั่น, กล้องถ่ายภาพ, เซ็นเซอร์, ระบบสัมผัส, ลำโพง, ปุ่มกด และอื่นๆ ซึ่งฟังก์ชันทดสอบต่างๆ จะมากน้อยต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าผู้ผลิตสมาร์ทโฟนแต่ละแบรนด์จะใส่มาให้มากน้อยขนาดไหน

 ขั้นตอนที่ 9 : ตรวจสอบแสงลอดบนหน้าจอแสดงผล

การตรวจสอบอาการแสงลอดบนหน้าจอแสดงผล เริ่มจากการเปิดกล้องดิจิตอลที่ด้านหลังของตัวเครื่องแล้วทำการนำมือทั้งสอง ข้างมาบังแสงรอบนอก และสังเกตตามขอบจอว่ามีแสงลอดออกมามาก หรือน้อย เพียงใด ถ้าออกมามากจนเกินไป ผู้ใช้งานก็สามารถแจ้งพนักงานเพื่อทำการเปลี่ยนเครื่องใหม่ได้ทันที

ขั้นตอนที่ 10 : ตรวจสอบระบบสัมผัสของหน้าจอแสดงผล และปุ่มสัมผัส

การตรวจสอบระบบสัมผัสนั้นมีหลายวิธี เช่น การปัดหน้าจอไปซ้าย-ขวา หรือการปัดขอบหน้าจอด้านบน และด้านล่าง พร้อมทั้งทดสอบการแตะหน้าจอขณะเล่นเกม รวมไปถึงการแตะปุ่มควบคุมการทำงานแบบสัมผัส ซึ่งจะอยู่ด้านล่างของหน้าจอ โดยกดปุ่มฟังก์ชัน (หรือปุ่ม Recent Apps), ปุ่มโฮม และปุ่มย้อนกลับ ประมาณ 3-5 ครั้ง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook