Lupin The 3rd ลูแปง ยอดโจรกรรมอัจริยะ

Lupin The 3rd ลูแปง ยอดโจรกรรมอัจริยะ

Lupin The 3rd ลูแปง ยอดโจรกรรมอัจริยะ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

ในศตวรรษที่ 17 จูเลียส ซีซาร์ ได้มอบสร้อยคอที่งดงามที่สุดในโลกซึ่งประดับประดาด้วยทับทิมล้ำค่าชื่อว่า “หัวใจสีเลือด” ให้แก่คลีโอพัตรา แต่แล้วมันก็ถูกขโมยไปโดยใครบางคน และได้กลายเป็นเพียงนิทานเล่าสืบต่อกันมา เมื่อมีการค้นพบสร้อยคอและทับทิมในยุคปัจจุบัน ปรากฏว่ามันอยู่แยกจากกันและถูกครอบครองโดยมหาเศรษฐีจากสองซีกโลก 

ผู้ครอบครองคนหนึ่งคือประมุข ซึ่งเป็นมหาเศรษฐีจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผู้เป็นเจ้าพ่อแห่งวงการใต้ดิน อีกคนหนึ่งคือดอว์สัน มหาเศรษฐีจากอังกฤษผู้เป็นอดีตจอมโจรที่เคยปล้นเคียงบ่าเคียงไหล่จอมโจรอาร์แซน ลูแปงผู้ยิ่งใหญ่ ทั้งคู่ต้องการประกอบสร้อยคอและทับทิมกลับคืนเข้าด้วยกัน ขณะเดียวกัน นักสืบเซะนิงะตะจากสำนักงานตำรวจสากลก็หวังจะจับกุมครั้งใหญ่ที่คฤหาสน์ของดอว์สันซึ่งจอมโจรจากทั่วโลกมารวมตัวกันเพื่อแต่งตั้งผู้นำองค์กรคนใหม่แห่งเครือข่ายจารกรรมที่ใช้ชื่อว่า “เดอะเวิร์คส์” หนึ่งในนั้นคือลูแปงที่สาม แต่ประมุขมีแผนเหนือชั้นกว่านั้น เขาล่อให้ไมเคิล คู่แข่งของลูแปง สังหารดอว์สันและชิงสร้อยคอมา 

ลูแปงที่สามประกาศว่าจะแก้แค้นให้ดอว์สันและขโมยสร้อยคอคืนมาโดยรวบรวมทีมของตัวเองซึ่งประกอบด้วย ไดซุเกะ จิเก็น, ฟุจิโกะ มิเนะ, และโกะเอะมง อิชิกะวะ พวกเขาบุกไปยังดิอาร์ก ปราการบนเกาะอันห่างไกลภายใต้การป้องกันด้วยระบบรักษาความปลอดภัยชั้นยอดที่ใครก็ไม่อาจเล็ดลอดเข้าไปได้ แต่ลูแปงที่สามและสหายจะไม่ยอมหยุดจนกว่าจะฉกสมบัติล้ำค่ามาจากมือของประมุขให้ได้   

 

องค์ประกอบนานาชาติของทีมงาน

ภาพยนตร์เรื่องนี้ดำเนินเรื่องโดยอิงฉากในญี่ปุ่น ไทย ฮ่องกง สิงคโปร์ การถ่ายทำบทบาทของตัวละครหลักดำเนินการที่ญี่ปุ่น 6 วัน ที่ประเทศไทย 2 เดือนเศษ และเป็นการผลิตขนาดใหญ่ที่ใช้เวลานาน ทีมงานการผลิตไม่ได้มีแค่ชาวญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังได้บุคลากรจากประเทศอื่นอีกหลายประเทศมาร่วมด้วย เช่น ผู้กำกับภาพจากสเปน ผู้กำกับคิวบู๊และทีมVFX จากเกาหลีใต้และมีสมาชิกผู้ทำหน้าที่สนับสนุนในแผนกต่าง ๆ จากไทยอีกจำนวนมากด้วย 

นอกจากนี้ คณะนักแสดงก็มีความหลากหลายในระดับนานาชาติ ประกอบด้วยนักแสดงชาวญี่ปุ่น อเมริกัน ไต้หวัน เกาหลีใต้ ไทย ออสเตรเลีย ภาษากลางที่ใช้ในสถานที่ถ่ายทำคือภาษาอังกฤษ และมีล่ามประจำภาษาแต่ละภาษาด้วย ในระหว่างการทำงาน มีภาษาญี่ปุ่น อังกฤษ เกาหลี ไทย จีน ให้ได้ยินคละกันตลอด เป็นสภาพการทำงานระหว่างประเทศที่ครึกครื้น ส่วนบทภาพยนตร์นั้น เนื่องจากมีบทเป็นภาษาอังกฤษ บรรดานักแสดงก็ได้รับการชี้แนะด้านภาษาอังกฤษจากอาจารย์และทีมงานชาวอเมริกัน ขณะเดียวกันก็พยายามฝึกฝนภาษาทั้งวันทั้งคืนอย่างจริงจังด้วย

 

การถ่ายทำในไทย

ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมถึงปลายเดือนธันวาคม 2014 รวม 2 เดือนเศษ มีการถ่ายทำที่ไทย ทั้งทีมงานและนักแสดงเตรียมการด้วยการฉีดวัคซีนและขอวีซ่าทำงานล่วงหน้า เมื่อเข้าสู่ประเทศไทย ก็รับการตรวจร่างกายทันที และยื่นขออนุญาตทำงานระยะสั้นในฐานะคนต่างชาติ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ ส่วนใหญ่จัดหาในประเทศไทย ทีมงานและนักแสดงที่เดินทางมาทำงานในไทยรวมทั้งหมดมีประมาณ 50 คน ส่วนทีมงานชาวไทยมีมากกว่านั้นประมาณ 3 เท่า

ไทยได้ชื่อว่า “ประเทศแห่งรอยยิ้ม” จากประสบการณ์ครั้งนี้ ทีมงานก็เห็นว่าเป็นเช่นนั้นจริง พอเอ่ยทักหรือเมื่อตาสบกันเท่านั้น อีกฝ่ายก็จะยิ้มให้ ทีมงานชาวไทยสื่อบรรยากาศสบาย ๆ ว่าอะไร ๆ ก็จะ “ไม่เป็นไร” สิ่งแวดล้อมในการถ่ายทำก็พร้อมสรรพ แม้แต่ในสถานที่สำหรับพักผ่อนระหว่างถ่ายทำซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีอะไรเลย ทางทีมงานก็เตรียมทุกสิ่งทุกอย่างให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็นห้องพักนักแสดง ห้องแต่งตัว ห้องน้ำเคลื่อนที่ เต็นท์จ่ายอาหาร เป็นต้น ทุกองค์ประกอบรวมกันสร้างบรรยากาศเหมือนงานเทศกาลยามค่ำคืนให้ความรู้สึกที่ดีแก่คนทำงาน

ระหว่างถ่ายทำ ตรงกับช่วงลอยกระทงด้วย ตามลำน้ำมีแสงเทียนล่องลอย ก่อให้เกิดทัศนียภาพเหมือนอยู่ในความฝัน ในวันนั้น เนื่องจากการถ่ายทำเสร็จสิ้นแล้ว ทีมงานจึงพากันออกไปสนุกสนานกับเทศกาลนี้ นอกจากที่กรุงเทพฯ แล้ว ก็มีการถ่ายทำที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ด้วยมีที่เดินกล้องก็ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษา 86 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวันที่ 5 ธันวาคมการถ่ายทำหยุดลงซึ่งเป็นการพักผ่อนเพียงวันเดียวระหว่างอยู่ที่เชียงดาว บรรยากาศในเมืองเชียงใหม่ก็อยู่ในสภาพการเฉลิมฉลอง

การถ่ายทำที่เมืองไทยเริ่มต้นจากฉากทหารโดยถ่ายที่สถานที่ของราชการ ในพื้นที่ดูแลของกองทัพบกแถววัดอรุณราชวรารามซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดัง ก่อนหน้าการถ่ายทำก็มีการบวงสรวงเพื่อให้ทำสำเร็จลุล่วงโดยปลอดภัย และนักแสดงประกอบฉากที่เป็นทหารในฉากนี้คือทหารจริง ๆ  ในฉากรถตุ๊ก ๆ ก็ให้รถทหารและทหารเคลื่อนไหวให้เข้ากับการวิ่งของตุ๊ก ๆ ได้อย่างลงตัว การถ่ายทำได้รับความร่วมมือเต็มที่จากทหารไทย


ภาพยนตร์ ลูแปงที่สาม ยอดโจรกรรมอัฉริยะ นำแสดงโดยชุน โอะงุริ จากซีรีส์เรื่อง The Crow ผลงานผู้กำกับ ริวเฮ คิตะมุระ (Azumi 2003) ร่วมด้วยผู้เชี่ยวชาญภาพยนตร์แอ๊กชั่น ชิมแจวอน และแจน เคอร์ยอน จาก Old Boy (2003) และ The Man from Nowhere (2010) ซึ่งจะเข้าฉาย 19 มีนาคมนี้เฉพาะในเครือโรงภาพยนตร์ เอสเอฟ ซีนีม่า

ตัวอย่างภาพยนตร์ Lupin The 3rd ลูแปง ยอดโจรกรรมอัจริยะ 


หนัง : ลูแปง ยอดโจรกรรมอัจริยะ (Lupin The 3rd)
จัดจำหน่ายโดย : United Home Entertainment
ผู้กำกับ : ริวเฮ คิตะมุระ
วันที่เข้าฉาย : 19 มีนาคม 2558
นักแสดงนำ : ชุน โอะงุริ, เท็ตสึจิ ทะมะยะมะ, โก อะยะโนะ, เมซะ คุโระกิ, ทะดะโนะบุ อะซะโนะ

อัลบั้มภาพ 6 ภาพ

อัลบั้มภาพ 6 ภาพ ของ Lupin The 3rd ลูแปง ยอดโจรกรรมอัจริยะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook