"สวนสุนันทา" ผงาดขึ้นอันดับ 1 ราชภัฏ วางเป้าหมายติด 1 ใน 15 ของประเทศ

"สวนสุนันทา" ผงาดขึ้นอันดับ 1 ราชภัฏ วางเป้าหมายติด 1 ใน 15 ของประเทศ

"สวนสุนันทา" ผงาดขึ้นอันดับ 1 ราชภัฏ วางเป้าหมายติด 1 ใน 15 ของประเทศ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม นายฤๅเดช เกิดวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (มร.สส.) เปิดเผยว่า ผลจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก ที่ดำเนินการโดย Webometrics Ranking จากประเทศสเปน และเป็นหนึ่งใน 8 ที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) ให้การยอมรับว่าเป็นองค์กรอ้างอิงชี้วัดคุณภาพมหาวิทยาลัย ได้ทำการเผยแพร่ผลการจัดอันดับคุณภาพมหาวิทยาลัยทั่วโลกออกมาเมื่อวันที่ 2 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยในส่วนของประเทศไทย อันดับ 1 ได้แก่มหาวิทยาลัยมหิดล อยู่ในอันดับที่ 273 ของโลก อันดับ 2 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อยู่อันดับ 340 ของโลก และอันดับ 3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่อันดับ 433 ของโลก

อธิการบดี มร.สส. กล่าวต่อว่า สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ(มรภ.) ซึ่งมีทั้งหมด 40 แห่ง อันดับ 1 ได้แก่ มร.สส. ขึ้นจากเดิมอันดับ 2 มาแทนที่แชมป์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต(มสด.) ที่ตกไปอยู่อันดับที่ 3 ทั้งนี้ มร.สส.อยู่ในลำดับที่ 25 ของประเทศ อันดับที่ 70 ของอาเซียน 708 ของเอเซีย และ 2,173 ของโลก ส่วน มสด. อันดับที่ 28 ของประเทศ 84 ของอาเซียน 807 ของเอเซียและ 2,438 ของโลก สำหรับมรภ. ที่ขึ้นมาเป็นอันดับ 2 ได้แก่ มรภ.ยะลา อันดับที่ 27 ของประเทศ 85 ของอาเซียน 812 ของเอเซียและ 2,454 ของโลก มรภ.ที่อยู่ 10 อันดับแรกนอกเหนือจากทั้งสามแห่ง ได้แก่ อันดับ 4 มรภ.พระนคร อันดับ 5 มรภ.บุรีรัมย์ อันดับ 6 มรภ.พิบูลสงคราม อันดับ 7 มรภ.นครปฐม อันดับ 8 มรภ.รำไพพรรณี อันดับ 9 มรภ.อุตรดิตถ์ และอันดับ 10 มรภ.ลำปาง

"ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยชั้นแนวหน้า ทั้งในระดับราชภัฏด้วยกันเองและในระดับประเทศ โดยในขั้นต้น อ้างอิงการจัดอันดับจากเวบโบเมรติกส์นี้ เพราะได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ประการสำคัญคือมีข้อมูลของมหาวิทยาลัยทั่วโลกจำนวน 21,248 แห่ง ทำให้มีข้อมูลว่ามหาวิทยาลัยใด อยู่ในอันดับเท่าไร ปรากฏการณ์ที่เห็นคือมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วโลกมีการปรับเปลี่ยนตัวเร็วมาก โดยเฉพาะในด้านการวิจัย สำหรับสวนสุนันทาเป้าหมายต่อไปคือผลักดันมหาวิทยาลัยให้ขึ้นอยู่ในระดับ 1 ใน 15 ของประเทศ และยกระดับมหาวิทยาลัยให้เข้าสู่การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก คิวเอส. ของประเทศอังกฤษ ซึ่งมีรูปแบบการประเมินที่เข้มข้นกว่าเวบโบเมรติกส์ โดยเน้นหนักไปที่ชื่อเสียงด้านวิชาการและงานวิจัย" อธิการบดี มร.สส. กล่าว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook